เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
[97] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัย
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
แต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทานอาศัยทิฏฐุปาทาน
และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่
เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1
ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานและอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยอุปาทานและมหาภูตรูปเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 กามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานและอาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
(พึงทำเป็นจักกนัย) (3)
(โดยนัยนี้ ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และ
สัมปยุตตวาร พึงทำเหมือนกับอุปาทานทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน แต่การระบุ
บุคคลต่างกัน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :340 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[98] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ
ที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอุปาทานโดย
เหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (เหมือนกับอุปาทานทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน
มี 9 วาระ)

อารัมมณปัจจัย
[99] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
เพราะปรารภอุปาทาน อุปาทานจึงเกิดขึ้น มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้
ทาน ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคล
เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ย่อ) เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :341 }